วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

International Organizations

CACM (Central American Common Market)กลุ่มตลาดร่วมอเมริกากลาง
ก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน 2506 ประกอบด้วยคอสตาริกา กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว และเอลซัลวาดอร์
CAP (Common Agricultural Policy)นโยบายร่วมเกษตร
เป็นนโยบายด้านการเกษตรของสหภาพยุโรป
EAC (East Asia Community)ประชาคมเอเชียตะวันออก
EASG (East Asia Study Group)กลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออก
ECB (European Central Bank)ธนาคารกลางยุโรป
มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครแฟรงเฟิร์ต ประกอบด้วยผู้ว่าธนาคารกลางของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มีหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินและการนำเงินสกุลยูโรมาใช้ในระบบยูโร (EURO System)
FTAA (Free Trade Area of the Americas)เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา
" ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดขององค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States หรือ OAS) ยกเว้นประเทศคิวบา มีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2548 (OAS มีสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริกา คิวบา โดมินิกัน เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา แอนติกัวและบาร์บูดา เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ จาเมกา บาร์เบโดส เกรนาดา สุรินาเม โดมินิกา เซนต์ลูเซีย บาฮามาส เซนต์คิดตส์และเนวิส เบลิซ กายอานา ตรินิแดดและโตบาโก)
GBC (General Border Committee)คณะกรรมการชายแดนทั่วไป
เป็นกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคง ชายแดน ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นประธานร่วมกัน ทำหน้าที่กกำหนดแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือ รักษาความสงบเรียบร้อยและเสถียรภาพในพื้นที่บริเวณชายแดน ซึ่งกลไกนี้ไทยมีกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันทั้ง 4 ประเทศ
GICHD (Geneva International Centre for Humanitarian Demining)
ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการเก็บกู้ทุนระเบิดด้านมนุษยธรรมแห่งนครเจนีวา
HRC (Human Rights Committee)คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
เป็นกลไกติดตามผลการอนุวัติกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR)
IAEA (International Atomic Energy Agency)ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นองค์การอิสระและมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับสหประชาชาติ ทำหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
ICBL (International Campaign to Ban Landmines)องค์กรสากลรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด
ILO (International Labor Organization)องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
มีสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน โดยการตั้งมาตรฐานในด้านค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน เงื่อนไขการว่าจ้าง และการประกันสังคม
OAS ( Organization of American States)คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกรานต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดยสันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา
OAU (Organization of African Unity)องค์การเอกภาพแอฟริกา
SAARC (South Asian Association for Regional Cooperation)
สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้
จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2528 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างกัน โดยมีสมาชิกประกอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ 7 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน บังกลาเทศ และมัลดีฟส์
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 ที่กรุงแอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย ปัจจุบัน OAU มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 52 ประเทศ
SPDC (State Peace and Development Council)สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของพม่าในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC - State Law and Order Restoration Council) อันเป็น กลุ่มทหารพม่าที่เข้ายึดอำนาจการปกครองในวันที่ 18 กันยายน 2531 ภายหลังจากที่ประชาชนชาวพม่าได้ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ายึดอำนาจรัฐในครั้งนั้นเป็นไปอย่างนองเลือดและคณะทหารดังกล่าวได้ให้สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 SLORC กลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่พรรค National League for Democracy (NLD) และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 SLORC ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น SPDC
TCTP (Third Country Training Program)โครงการฝึกอบรมประเทศที่สาม
" เป็นรูปแบบการให้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิเทศสหการกับองค์การระหว่างประเทศและ/หรือรัฐบาลต่างประเทศในการจัด หลักสูตรการศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงานให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนา โดยองค์การระหว่างประเทศหรือรัฐบาลต่างประเทศเป็น ผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้รับทุนและค่าใช้จ่ายในการศึกษา/ฝึกอบรม/ ดูงาน

UNCDF (United Nations Capital Development Fund)กองทุนพัฒนาเงินทุนแห่งสหประชาชาติ


VAP (Vientiane Action Programme)แผนปฏิบัติการเวียงจันทร์


WEF (World Economic Forum)การประชุม "เวทีเศรษฐกิจโลก"


WHO (World Health Organization)องค์การอนามัยโลก


WMO (World Meteorological Organization)องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก


ที่มาอ้างอิง http://www.mfa.go.th/web/856.php?code=w

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Incoterms

INCOTERMS คืออะไร
Incoterms เรียกย่อมาจากคำว่า “International Commercial Terms” ซึ่งหมายถึง ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศแต่โดยทางการแล้วมีชื่อเรียกเต็มๆว่า “The Official ICC Rule for the Interpretation of Trade Terms” ดังนั้น Incotermsจึงหมายถึง กฎเกณฑ์ (Rule) สำหรับการตีความข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ (Commercial Terms / Trade Terms)
อย่างไรก็ตาม ในทางตำราไทยนั้นได้มีการอธิบายความหมายของ Incoterms ไว้แตกต่างกัน โดยบางท่านเห็นว่าIncoterms เป็นข้อสัญญามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งรวบรวมและจัดทำขึ้นโดยสภาหอการค้านานาชาติ ( International Chamber of Commerce) 4 บางท่านเห็นว่า เป็นชื่อเรียกคำเฉพาะ (terms) ของข้อสัญญามาตรฐาน(Standard terms ) สำหรับใช้กับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ที่หอการค้านานาชาติ International Chamber of  Commerce จัดทำขึ้นเพื่อให้คู่สัญญาซื้อขายที่ตกลงกันให้นำไปใช้กับสัญญาของตน (incorporation) มีความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ระหว่างกันได้ชัดเจนตรงกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาเจรจาและร่างสัญญาซื้อขายในประเด็นสำคัญบางประเด็นที่มีรายละเอียดอยู่ในข้อสัญญามาตรฐานของ ICC แล้ว5 บางท่านเห็นว่า Incoterms คือ คำ หรือถ้อยคำ (Statement) เกี่ยวกับข้อตกลงหรือเทอมทางการค้า (Trade Terms) ที่ได้รับการยอมรับสูงสุดทั่วโลก INCOTERMS ไม่ใช่กฎหมายภายในหรือความตกลงระหว่างประเทศแต่อย่างใด แต่เป็นการรวบรวมหลักของข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศของเอกชนเข้าด้วยกัน และมีผลผูกพันคู่สัญญาในสัญญาการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากคู่สัญญาระบุอย่างชัดแจ้ง (explicitly) หรือโดยปริยาย
(implicitly) ให้ใช้ INCOTERMS บังคับแก่สัญญานั้นๆ6 บางท่านเห็นว่า Incoterms กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับการตีความคำเฉพาะทางการค้า (International Rules for the Interpretation of Trade Terms ) มีวัตถุประสงค์ที่จะวางหลักเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันในระหว่างประเทศเพื่อที่จะใช้แปลความคำเฉพาะทางการค้า (Trade Terms) ที่ใช้กันเสมอในทางการค้า
วัตถุประสงค์
Incoterms มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ (Rule) ระหว่างประเทศสำหรับการตีความข้อตกลงการค้า     ( TradeTerms ) ที่ใช้กันมากในทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการตีความที่แตกต่างกันเกี่ยวกับข้อตกลงนั้นในแต่ละประเทศ หรืออย่างน้อยก็น่าจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ เนื่องจากคู่สัญญาในแต่ละประเทศอาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับทางปฏิบัติในการค้าระหว่างประเทศที่แตกต่างกันซึ่งอาจนำไปสู่ข้อพิพาท(Dispute)หรือการฟ้องคดี(Litigation)ได้ซึ่งทำให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อลดปัญหาดังกล่าว ICC จึงได้เผยแพร่ Incoterms เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการตีความข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศให้มีความชัดเจน ถูกต้องตรงกัน



ขอบเขตการบังคับใช้ Incoterms
ตามที่กล่าวไปแล้วว่า Incoterms ไม่ใช่กฎหมาย (Law) ทั้งกฎหมายใน (Domestic Law) และ กฎหมายระหว่างประเทศ ( International Law ) Incoterms จึงไม่มีผลใช้บังคับกับสัญญาโดยตรง โดย Incoterms จะมีผลบังคับใช้กับสัญญาได้ก็ต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงกันโดยชัดแจ้งว่าให้นำ Incoterms มาใช้บังคับกับสัญญาเท่านั้น โดยการระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่า“This contract is subjected to the Incoterms2000” หรือ “Subjected to Incoterms2000” หรือ “Incoterms2000” เช่น FOB,Bangkok Port(Incoterms2000)17 หรือระบุข้อความอื่นซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกันรายละเอียดของ Incoterms ได้กำหนดหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น Incoterms จึงใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (International Sale of Goods Contract)
อนึ่ง สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่จะนำ Incoterms มาบังคับใช้ได้ต้องเป็นสัญญาซื้อขายสินค้าที่จับต้องได้(Tangible) เท่านั้น ไม่รวมถึงสินค้าชนิดที่จับต้องไม่ได้ (Intangible) อาทิเช่น ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์
แม้ว่า Incoterms จะกำหนดหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายตามสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศไว้โดยเฉพาะก็ตามแต่ก็มิได้หมายความว่า Incoterms จะกำหนดหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายไว้ครบทุกเรื่อง ซึ่งไม่สามารถทำได้โดยสภาพ ดังนั้น เรื่องใดที่ Incoterms มิได้กำหนดไว้ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ซื้อและผู้ขายต้องไปตกลงกันเอง หรือเป็นไปตามกฎหมายที่นำมาบังคับ ใช้18(Applicable Law) แล้วแต่กรณี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Incoterms จะถูกร่างขึ้นโดยมีเจตนาให้ใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายสินค้าที่ต้องมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ แต่ในทางปฏิบัติคู่สัญญาก็สามารถตกลงกันให้นำ Incoterms มาใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายสินค้าภายในประเทศก็ได้ ซึ่งในกรณีเช่นว่านี้ข้อตกลงเกี่ยวกับการขอใบอนุญาต หนังสือยินยอม หรือพิธีการศุลกากร (A2 และ B2)หรือข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าก็ไม่ต้องนำมาใช้บังคับกับสัญญา
หน้าที่ใน Incoterms
Incoterms กำหนดหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศไว้บางประการ โดยกำหนดหน้าที่ไว้ฝ่ายละ 10 ประการเท่านั้น ดังนี้

หน้าที่ของผู้ขาย
หน้าที่ของผู้ซื้อ

A1. การส่งมอบสินค้าตามสัญญาซื้อขาย
B1. การชำระราคาสินค้า
A2. ใบอนุญาต, หนังสือยินยอม และพิธีการศุลกากร
B2. ใบอนุญาต, หนังสือยินยอม และพิธีการศุลกากร

A3. การทำสัญญาขนส่งสินค้าและสัญญาประกันภัย
B3. การทำสัญญาขนส่งสินค้าและสัญญาประกันภัย
A4.การส่งมอบสินค้า
B4.การรับมอบสินค้า

A5. การโอนความเสี่ยงภัย
 B5. การโอนความเสี่ยงภัย

A6. การรับภาระค่าใช้จ่าย
B6. การรับภาระค่าใช้จ่าย

A7. การแจ้งผู้ซื้อ
B7. การแจ้งผู้ขาย

A8. การพิสูจน์การส่งมอบ เอกสารการขนส่ง หรือ
ข้อความทางเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เสมือนเอกสาร

B8. การพิสูจน์การส่งมอบ เอกสารการขนส่ง หรือ
ข้อความทางเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เสมือนเอกสาร
A9. การตรวจนับ การหีบห่อ การทำเครื่องหมาย
B9. การตรวจสินค้า

A10. หน้าที่อื่นๆ
B10. หน้าที่อื่นๆ



เห็นได้ว่า Incoterms มิได้กำหนดหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายไม่ครบทุกเรื่อง อาทิเช่น 1.การเกิดของสัญญา
2.สิทธิเรียกร้องหรือความรับผิดของคู่สัญญา 3.การโอนกรรมสิทธิ์สินค้า 4.หลักฐานหรือแบบของสัญญา 5.การเลิกสัญญาและผลของการเลิกสัญญา 6.การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย 7.ข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดความรับผิด 8.อายุความ 9.วิธีการชำระราคา และ 10.วิธีการระงับข้อพิพาท เป็นต้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่ผู้ซื้อและผู้ขายต้องไปตกลงในสัญญาซื้อขายกันเองเพื่อให้เป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับกับสัญญานั้น (Applicable Law) แล้วแต่กรณี

ข้อตกลงทางการค้าใน Incoterms
Incoterms2000 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดได้กำหนดข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศไว้ทั้งหมด 13 ข้อตกลง ได้แก่ EXW,FCA, FAS, FOB, CFR, CIF, CPT, CIP, DAF, DES, DEQ, DDU, DDP โดยกำหนดหน้าที่ของผู้ขายจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุด ตามลำดับ กล่าวคือ ในกรณีที่คู่สัญญาตกลงใช้ EXW ซึ่งเป็นข้อตกลงแรกสุดผู้ซื้อย่อมเป็นฝ่ายรับผิดชอบในการขนส่งสินค้าตั้งแต่โรงงานของผู้ขายไปยังสถานประกอบกิจการของผู้ซื้อ ทำพิธีการศุลกากรทั้งขาเข้าและขาออก โดยผู้ขายมีหน้าที่เพียงส่งมอบสินแก่ผู้ซื้อที่หน้าโรงงาน ในทางตรงกันข้าม ถ้าคู่สัญญาตกลงใช้ DDP ซึ่งเป็นข้อตกลงท้ายสุด ผู้ขายย่อมมีหน้าที่ในการส่งมอบสินค้าจนถึงสถานประกอบกิจการของผู้ซื้อหรือสถานที่อื่นตามที่ได้ตกลงกัน โดยผู้ซื้อต้องทำพิธีการศุลกากรทั้งขาออกและขาเข้าด้วย
ส่วนการเลือกข้อตกลงที่จะนำมาใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายนั้นนั้น โดยหลักการแล้วย่อมเป็นไปความสมัครใจของคู่สัญญาหรือหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนา แต่ในทางปฏิบัตินั้นย่อมเป็นไปตามอำนาจต่อรองของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย(Power of Bargaining) เป็นหลัก โดยคู่สัญญาฝ่ายที่มีอำนาจต่อรองสูงกว่าย่อมบีบบังคับให้คู่สัญญาที่มีอำนาจต่อรองน้อยกว่าอยู่ภายใต้ข้อตกลงทางการค้าที่ตนเองได้ประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ผู้ซื้อและผู้ขายยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นอีกด้วย อาทิเช่น การกำหนดราคาศุลกากรตามกฎหมายศุลกากรของประเทศที่มีการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น เพราะจะมีผลต่อการคำนวณราคาสินค้าเพื่อเสียภาษี ซึ่งตามพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 ของประเทศไทยได้กำหนดราคาศุลกากรในกรณีนำเข้าและส่งออกสินค้าไว้ดังต่อไปนี้
1. การกำหนดราคาศุลกากรหรือราคาสินค้าในกรณีการส่งออก (Export) ให้กำหนดตามราคาขายส่งเงินสดซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลา และที่ที่ส่งของออกโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด19
ดังนั้น ในทางปฏิบัติของการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยจึงนิยมใช้ข้อตกลง EXW หรือ FOB ซึ่งผู้ขายไม่มีหน้าที่ต้องทำสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเล และ สัญญาประกันภัยสินค้า ทั้งนี้ แล้วแต่คู่สัญญาจะตกลงกัน
2. การกำหนดราคาศุลกากรหรือราคาสินค้าในกรณีนำของเข้า (Import) ให้กำหนดตามราคาของของเพื่อความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรตามราคาอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ () ราคาซื้อขายของที่นำเข้า () ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน () ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน () ราคาหักทอน () ราคาคำนวณ () ราคาย้อนกลับ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ราคาและการกำหนดราคาตาม () () () () () และ () ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง20 และให้รวมค่าประกันภัย ค่าขนส่งของที่นำเข้ามายังท่าหรือที่ที่นำของเข้า ค่าขนของลง ค่าขนของขึ้นและค่าจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน การขนส่งของที่นำเข้ามายังท่าหรือที่ที่นำของเข้าด้วย21 ดังนั้น ในทางปฏิบัติของการนำเข้าสินค้าคู่สัญญาจึงนิยมใช้ข้อตกลง CIF เพราะการเสียภาษีศุลกากรนั้นกฎหมายบังคับให้รวมค่าประกันภัยด้วย

รายละเอียดโดยย่อในแต่ละข้อตกลงทางการค้าใน INCOTERMS2000
1. EXW : Ex Works ( … named place )
ภายใต้ข้อตกลง EXW ผู้ขายมีหน้าที่เพียงเตรียมสินค้าให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายเท่านั้น โดยผู้ขายไม่มีหน้าที่ต้องทำสัญญาขนส่งใดๆเลย เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อฝ่ายเดียวที่จะต้องมารับสินค้าจากผู้ขายที่หน้าโรงงาน หรือ ณ สถานที่ที่ตกลงกันไว้ ผู้ซื้อต้องทำสัญญาขนส่งสินค้าทุกช่วงทั้งการขนส่งสินค้าภายในประเทศผู้ขาย การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและการขนส่งสินค้าภายในประเทศผู้ซื้อเอง ทำพิธีการศุลกากรทั้งขาออกและขาเข้า ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อเองทั้งหมดความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าภายใต้ EXW จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่ผู้ซื้อได้รับมอบสินค้าจากผู้ขายที่หน้าโรงงานเป็นต้นไป  อนึ่ง EXW สามารถใช้ได้ทั้งในกรณี EX FACTORY, EX WAREHOUSE
ข้อสังเกต สัญญาซื้อขายภายใต้ข้อตกลง EXW สินค้าจะมีราคาถูกที่สุด เพราะราคาสินค้าไม่รวมค่าใช้จ่ายในการขนส่ง การทำสัญญาประกันภัย ค่าภาษีศุลกากร ดังนั้น ในทางปฏิบัติคู่สัญญาจึงอาจตกลงกันขอให้คิดราคาสินค้าที่หน้า โรงงาน
2. FCA : Free Carrier ( … named place )
ภายใต้ข้อตกลง FCA ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่ง (Carrier) ตามที่ผู้ซื้อจัดหา ณ สถานที่ที่ตกลงกันไว้ ถ้าตกลงกันให้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่ง ณ สถานที่ของผู้ขายเอง ผู้ขายย่อมมีหน้าที่ขนสินค้าขึ้นรถด้วย แต่ถ้าตกลงกันให้ส่งมอบ ณ สถานที่อื่นอันมิใช่สถานที่ของผู้ขาย เช่น Container Freight Station, Cargo Terminal ท่าอากาศยาน หรือ สถานีรถไฟ เป็นต้น ตามข้อตกลงนี้ผู้ขายจะไม่มีหน้าที่ขนสินค้าขึ้นรถแต่อย่างใด เป็นหน้าของผู้ซื้อหรือผู้ขนส่งแล้วแต่กรณี แต่ผู้ขายต้องทำพิธีการศุลกากรขาออกด้วยความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าภายใต้ FCA จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่งเป็นต้นไป
อนึ่ง ข้อตกลง FCA คู่สัญญาสามารถนำไปใช้ได้กับการขนส่งได้ทุกรูปแบบไม่ว่าทางบก ทางอากาศ
ทางทะเลหรือทางน้ำภายในประเทศ รวมทั้งการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบด้วย ( Multimodal Transport )
ข้อสังเกต ข้อตกลง FCA สอดคล้องกับการขนส่งสินค้าที่เรียกว่า RO-RO ( roll on – roll off ) คือ การขนสินค้าโดยไม่มีการยกสินค้าขึ้นเรือโดยใช้ปั้นจั่น แต่เป็นการขนส่งสินค้าไปจนถึงจุดรับสินค้าของผู้ขนส่ง เช่น Container Freight  Station ( CFS ) เป็นต้น
3. FAS : Free Alongside Ship ( … named port of shipment )
ภายใต้ข้อตกลง FAS ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่งที่ข้างเรือ ( Alongside Ship ) ณ ท่าเรือตามที่ผู้ซื้อแจ้งมาและมีหน้าที่ทำพิธีการศุลกากรขอออกด้วยความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าภายใต้ FAS จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่สินค้าวางอยู่ข้างเรือเป็นต้นไป ส่วนผู้ซื้อมีหน้าที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลเพื่อมารับสินค้าจากผู้ขายด้วยค่าใช้ค่าใช้จ่ายของตนเอง และ ต้องแจ้งให้ผู้ขายทราบถึงชื่อเรือ ท่าเรือ และเวลาที่ต้องส่งมอบด้วย
อนึ่ง ข้อตกลง FAS นี้สามารถใช้ได้สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่ใช้การขนส่งสินค้าทางทะเล หรือทางน้ำ ภายในประเทศเท่านั้น
4. FOB : Free On Board ( … named port of shipment )
ภายใต้ข้อตกลง FOB ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าไปไว้บนเรือ ( On Board / On Shipment ) ตามที่ผู้ซื้อแจ้งมา และทำพิธีการศุลกากรขาออกด้วยความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อสินค้าผ่านพ้นกราบเรือ ( pass the ship's rail) แล้วเห็นได้ว่า FOB นี้ใช้สำหรับการส่งสินค้าทางทะเลหรือทางน้ำภายในประเทศแบบดั้งเดิม คือ การใช้ระบบยกสินค้าขึ้นเรือหรือที่เรียกกันว่า LO-LO (Lift on – Lift off)  ส่วนหน้าที่ของผู้ซื้อภายใต้ข้อตกลง FOB นี้ คือ การชำระราคาสินค้าตามสัญญาซื้อขาย การทำพิธีการศุลกากรขาเข้า การทำสัญญารับขนของทางทะเล ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง การแจ้งให้ผู้ขายทราบเกี่ยวกับชื่อเรือ ท่าเรือ และเวลาส่งมอบ
รับโอนความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าเมื่อสินค้าผ่านพ้นกราบเรือแล้ว การเสียค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นนับแต่เวลาที่สินค้นการรับมอบสินค้าผ่านพ้นกราบเรือ การรับมอบสินค้าจากผู้ขาย และการตรวจสอบสินค้าก่อนเรือออกด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง
5. CFR : Cost and Freight ( … named port of destination )
ภายใต้ข้อตกลง CFR ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า C&F (Cost and Freight ) ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าไปไว้บนเรือ (On Board / On Shipment) ณ ท่าเรือ ณ เวลาตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยผู้ขายต้องทำสัญญารับขนของทางทะเลและชำระค่าระวาง (Freight) และค่าใช้จ่ายต่างที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง และต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบเกี่ยวกับชื่อเรือ ท่าเรือต้นทาง และเวลาส่งมอบ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถไปรับสินค้าที่ท่าปลายทางได้ด้วย นอกจากนี้ ผู้ขายยังมีหน้าที่ทำพิธีการศุลกากรขาออกด้วยความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าตามข้อตกลง CFR จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่สินค้าผ่านพ้นกราบเรือ ( pass the ship's rail) แล้ว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ความเสี่ยงภัยของผู้ขายมีอยู่จนถึงเวลาที่สินค้าพ้นกราบเรือแต่ผู้ขายมีหน้าที่เสียค่าใช้จ่าย (Cost) จนถึงเวลาที่สินค้าถึงท่าปลายทาง
อนึ่ง CFR สามารถนำมาใช้ได้กับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีการขนส่งสินค้าทางทะเลหรือทางน้ำ ภายในประเทศเท่านั้น โดยต้องระบุท่าเรือปลายทางไว้ด้วย
ข้อสังเกต หน้าที่ของผู้ขายตาม CFR เพิ่มเติมจาก FOB เพียงประการเดียวคือ ผู้ขายต้องทำสัญญารับขนของทางทะเลด้วย ในกรณีที่เป็นการขนส่งทางบกควรใช้ข้อตกลง CPT
6. CIF ; Cost Insurance and Freight (… named port of destination )
ภายใต้ข้อตกลง CIF ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าไปไว้บนเรือ (On Board / On Shipment) ณ ท่าเรือ ณ เวลาตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยผู้ขายมีหน้าที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลและชำระค่าระวาง (Freight) และค่าใช้จ่ายต่างๆ และผู้ขายต้องทำสัญญาประกันทางทะเลเกี่ยวกับความเสี่ยงภัยของผู้ซื้อในความสูญเสียหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งและต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้เรียบร้อยด้วย นอกจากนี้ ผู้ขายต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบเกี่ยวกับชื่อเรือ ท่าเรือต้นทาง และเวลาส่งมอบ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถไปรับสินค้าที่ท่าปลายทาง ผู้ขายยังมีหน้าที่ในการขอใบอนุญาตส่งออกรวมทั้งการทำพิธีการศุลกากรขาออกอีกด้วย
แม้ภายใต้ข้อตกลง CIF ผู้ขายจะมีหน้าที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลและสัญญาประกันภัยทางทะเล แต่เรื่องการโอนความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้ายังคงเป็นเช่นเดียวกับ FOB และ CFR คือ ความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่สินค้าผ่านพ้นกราบเรือ ( pass the ship's rail) แล้ว  ส่วนหน้าที่ของผู้ซื้อภายใต้ข้อตกลง CIF นี้ คือ การชำระราคาสินค้าตามสัญญาซื้อขาย การทำพิธีการศุลกากรขาเข้าและเสียค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น การรับมอบสินค้า การรับโอนความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าเมื่อสินค้าผ่านพ้นกราบเรือแล้ว การเสียค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นนับแต่เวลาที่สินค้าอยู่บนเรือแล้ว การรับมอบสินค้าจากผู้ขาย การแจ้งให้ผู้ขายทราบถึงเวลาส่งมอบและหรือท่าเรือปลายทางในกรณีที่ได้ตกลงกันไว้ให้ผู้ซื้อมีสิทธิเลือก
อนึ่ง CIF สามารถใช้ได้กับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีการขนส่งสินค้าทางทะเลและการขนส่งทางน้ำ ภายในประเทศเท่านั้น ในกรณีที่เป็นการขนส่งทางบกควรใช้ข้อตกลง CIP
7. CPT : Carriage Paid to ( … named place of destination )
ภายใต้ข้อตกลง CPT ผู้ขายมีหน้าที่ทำสัญญาขนส่งและส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่งนั้นเพื่อขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อ ณ สถานที่ปลายทางตามที่ตกลงกันไว้ และผู้ขายมีหน้าที่ทำพิธีการศุลกากรขาออกด้วย
ความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าภายใต้ CPT จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งที่ต้นทางเรียบร้อยแล้ว
ส่วนหน้าที่ของผู้ซื้อภายใต้ CPT นี้ คือ การชำระราคาสินค้า การทำพิธีการศุลกากรขาเข้า การรับมอบสินค้าจากผู้ขายและจากผู้ขนส่ง รับโอนความเสี่ยงภัยเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่ง เสียค่าใช้จ่ายนับแต่เวลาที่ที่ผู้ขนส่งได้รับมอบสินค้า แจ้งให้ผู้ขายทราบเกี่ยวกับเวลาการส่งมอบและ/หรือสถานที่ปลายทางในกรณีที่ตกลงกันให้ผู้ซื้อเลือก ยอมรับเอกสารการขนส่งเมื่อสินค้านั้นถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา
อนึ่ง สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศซึ่งอยู่ภายใต้ข้อตกลง CPT สามารถใช้ได้กับสัญญาขนส่งทุกรูปแบบ รวมทั้งการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบด้วย (multimodal transport)
ข้อสังเกต CPT มีความใกล้เคียงกับ CFR แต่มีความแตกต่างกันที่ว่า CFR ใช้กับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่าง
ประเทศที่ใช้การขนส่งสินค้าทางทะเลเท่านั้น ส่วน CPT สามารถใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ
8. CIP : Carriage and Insurance Paid to ( … named place of destination )
CPT ผู้ขายมีหน้าที่ทำสัญญาขนส่งและส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่งนั้นเพื่อขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อ ณ สถานที่ปลายทางตามที่ตกลงกันไว้ และผู้ขายมีหน้าที่ทำพิธีการศุลกากรขาออกด้วย โดยผู้ขายมีหน้าที่ทำสัญญาประกันภัยสินค้า(Cargo Insurance) ความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าภายใต้ CIP จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งที่ต้นทางเรียบร้อยแล้วเช่นเดียวกับ CPT
ส่วนหน้าที่ของผู้ซื้อภายใต้ CIP นี้ คือ การชำระราคาสินค้า การทำพิธีการศุลกากรขาเข้า การรับมอบสินค้าจากผู้ขายและจากผู้ขนส่ง รับโอนความเสี่ยงภัยเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ขนส่ง เสียค่าใช้จ่ายนับแต่เวลาที่ที่ผู้ขนส่งได้รับมอบสินค้า แจ้งให้ผู้ขายทราบเกี่ยวกับเวลาการส่งมอบและ/หรือสถานที่ปลายทางในกรณีที่ตกลงกันให้ผู้ซื้อเลือก ยอมรับเอกสารการขนส่งเมื่อสินค้านั้นถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา เช่นเดียวกับ CPT
อนึ่ง CIP สามารถใช้ได้กับการขนส่งสินค้าในสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศทุกรูปแบบ รวมทั้งการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบด้วย
ข้อสังเกต สิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขายภายใต้ข้อตกลง CPT มีใกล้เคียงกับข้อตกลง CPT และ CIF แต่
แตกต่างกันที่ CPT ผู้ขายไม่มีหน้าที่ต้องทำสัญญาประกันภัยสินค้า ส่วน CIF เป็นกรณีการขนส่งสินค้าทางทะเลเท่านั้น
9. DAF : DELIVERED AT FORNTIER ( ... named place )
ภายใต้ข้อตกลง DAF ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้า ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งบริเวณพรหมแดนระหว่างประเทศตามที่ได้ตกลงกันไว้ โดยผู้ขายไม่จำต้องขนสินค้าลงแต่อย่างใด แต่ผู้ขายต้องทำพิธีการศุลกากรขาออกให้เรียบร้อย ความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่สินค้าได้ไปอยู่ในความครอบครองของผู้ซื้อ ณ สถานที่ที่ส่งมอบบริเวณพรหมแดนระหว่างประเทศตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา  ส่วนหน้าที่ของผู้ซื้อภายใต้ข้อ ตกลง DAF คือ การชำระราคาสินค้า การทำพิธีการศุลกากรขาเข้า การรับมอบสินค้า การรับโอนความเสี่ยงภัยเมื่อสินค้าไปถึงสถานที่ที่ส่งมอบบริเวณพรหมแดนระหว่างประเทศตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญารับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนสินค้าลงและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนับแต่เวลาที่ส่งมอบเป็นต้นไป
10. DES : DELIVERD EX SHIP (… named port of destination )
ภายใต้ข้อตกลง DES ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในความครอบครองของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือปลายทาง โดยผู้ขายไม่จำต้องขนสินค้าลงจากเรือแต่อย่างใด  ความเสี่ยงภัยในความสูญเสียของสินค้าภายใต้ข้อตกลง DES จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่สินค้านั้นได้อยู่ในความครอบครองของผู้ซื้อที่ท่าเรือปลายทางแล้ว
ส่วนหน้าที่ของผู้ซื้อภายใต้ข้อตกลง DES คือ การชำระราคาสินค้า การทำพิธีการศุลกากรขาเข้า การรับมอบสินค้าการรับโอนความเสี่ยงภัยเมื่อสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนสินค้าขึ้นจากเรือที่ท่าปลายทางและค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นนับแต่เวลานี้
อนึ่ง ข้อตกลง DES สามารถใช้ได้กับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีการขนส่งทางทะเลหรือทางน้ำ
ภายในประเทศเท่านั้น
11. DEQ : DELIVERED EX QUAY (… named port of destination )
ภายใต้ข้อตกลง DEQ ผู้ขายมีหน้าที่ทำสัญญารับขนของทางทะเลเพื่อส่งมอบสินค้าให้อยู่ในความครอบครองของผู้ซื้อ ณ ท่าเรือปลายทางตามที่ระบุไว้และต้องขนสินค้าลงจากเรือด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง ตลอดจนทำพิธีการศุลกากรขาออกให้เรียบร้อย แต่ไม่ต้องทำพิธีการศุลกากรขาเข้า
ความเสี่ยงภัยในความสูญเสียของสินค้าภายใต้ข้อตกลง DEQ จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่สินค้าได้อยู่ในความครอบครองของผู้ซื้อที่ท่าเรือปลายทาง
ส่วนหน้าที่ของผู้ซื้อภายใต้ข้อตกลงนี้คือ การรับมอบสินค้า การทำพิธีการศุลกากรขาเข้า การขนส่งสินค้าจากท่าเรือในประเทศผู้ซื้อไปยังสถานประกอบกิจการของผู้ซื้อเอง
อนึ่ง DDP สามารถใช้ได้กับสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีการขนส่งสินค้าทางทะเล หรือการขนส่งทางน้ำภายในประเทศเท่านั้น
12. DDU : DELIVERED DUTY UN PAID (… named place of destination )
ภายใต้ข้อตกลง DDU ผู้ขายมีหน้าที่นำสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อ ณ สถานที่ปลายทางตามที่ได้ตกลงกันไว้ อาทิเช่น  คลังสินค้าหรือโรงงานหรือสถานประกอบกิจการของผู้ซื้อ เป็นต้น แต่ผู้ขายไม่จำต้องขนสินค้าลงจากรถ และไม่จำต้องทำพิธีการศุลกากรขาเข้า แต่อย่างใด
ความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าภายใต้ข้อตกลง DDU จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่ได้ส่งมอบสินค้าให้อ ยู่ในความครอบครองของผู้ซื้อ ณ สถานที่ปลายทาง
ส่วนหน้าที่ของผู้ซื้อภายใต้ข้อตกลง DDU คือ การขนสินค้าลง และการทำพิธีการศุลกากรขาเข้า
อนึ่ง ข้อตกลง DDU สามารถใช้ได้กับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทุกรูปแบบ รวมทั้งการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เป็นการขนส่งสินค้าทางทะเลควรใช้ข้อตกลง DES หรือ DEQ จะเหมาะสมกว่า
13. DDP : DELIVERED DUTY PAID (… named place of destination )
ภายใต้ข้อตกลง DDP ผู้ขายมีหน้าที่นำสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อ ณ สถานที่ปลายทางตามที่ได้ตกลงกันไว้ อาทิเช่น  คลังสินค้าหรือโรงงานหรือสถานประกอบกิจการของผู้ซื้อ เป็นต้น โดยไม่จำต้องขนสินค้าลงแต่อย่างใด และผู้ขายต้องทำพิธีการศุลกากรทั้งขาออกและขาเข้าให้เรียบร้อยด้วย
ความเสี่ยงภัยในความสูญเสียหายของสินค้าภายใต้ข้อตกลง DDP จะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อนับแต่เวลาที่ได้ส่งมอบสินค้าให้อยู่ในความครอบครองของผู้ซื้อ ณ สถานที่ปลายทาง  หน้าที่ของผู้ซื้อภายใต้ข้อตกลง DDP มีเพียงการขนสินค้าลงเท่านั้น
อนึ่ง ข้อตกลง DDP สามารถใช้ได้กับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทุกรูปแบบ
ข้อสังเกต ข้อตกลง DDP ผู้ขายมีหน้าที่ในการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อมากที่สุด ผู้ซื้อมีหน้าที่เพียงขนสินค้าลง
เท่านั้น อีกทั้งผู้ซื้อไม่จำต้องทำพิธีการศุลกากรขาเข้าอีกด้วย ดังนี้ ราคาสินค้าภายใต้ข้อตกลง DDP จะมีราคาสินค้าต่อหน่วยแพงที่สุด เพราะผู้ขายต้องรับภาระทุกอย่างซึ่งได้นำไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของราคาสินค้าแล้ว
ข้อมูลอ้างอิงhttp://www.sittigorn.net/documents/sittigorn/sittigorn_icc_incoterms2000.pdf