วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ศัพท์ควรรู้

Financial Document (เอกสารทางการเงิน)
            1.Bill of Exchange (ตั๋วแลกเงิน)  เป็นตราสารที่ผู้ออกตราสาร (ผู้ออกตั๋ว) สั่งให้บุคคลหนึ่ง (ผู้จ่ายเงินตามตั๋ว) จ่ายเงินให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่ง (ผู้รับเงินตามตั๋ว)
2.  Draft (ดราฟต์) คือตราสารทางการเงิน หรือ ตั๋วแลกเงินของธนาคาร ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ออกและสั่งให้ธนาคารตัวแทน (Correspondent Bank) หรือสาขาของตนในต่างประเทศจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุในดราฟต์ ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่มีชื่อระบุไว้บนดราฟต์

3.  Checkหรือ Cheque (เช็ค) เป็นตราสารที่บุคคลผู้ออก (ผู้สั่งจ่าย) สั่งธนาคาร (ที่ตนมีบัญชีอยู่) ให้จ่ายเงินจำนวนตามที่ระบุแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง (ผู้รับเงิน)

4. Bill of Collection (B/C)  คือเอกสารเรียกเก็บเงินลูกค้า เมื่อผู้ส่งออกส่งของไปยังผู้นำเข้าอีกที่หนึ่ง เขาก็จะผ่านตัวกลางของธนาคาร ซึ่งถ้าเป็นการซื้อขายแบบเสี่ยงที่สุดก็จะไม่มีเอกสารให้ดูส่งไปแล้วไปรับ เลย แต่พอเป็นลักษณะของ B/C นั้นก็จะมีเอกสารอยู่ 2 ชนิด คือ Document Against Payment (D/P) และ Document Against Acceptance (D/A) โดย D/P หมายถึงว่าผู้นำเข้าก็ต้องยอมจ่ายตังก่อนแล้วค่อยเอาของไปได้ ส่วน D/A เป็นลักษณะยังไม่จ่ายหรอกแค่ขอ Credit ไปก่อนว่าจะเอาไปกี่วันๆแล้วค่อยเอามาจ่ายที่หลัง ถามว่าอะไรเสี่ยงกว่าก็แน่นอน D/A ก็ต้องเสี่ยงกว่า D/P

5. Bonds (พันธบัตร) เป็นสัญญาที่ออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน

6.  Stock (หุ้นทุน) คือ เป็นเอกสารเครดิต ที่ใช้เป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจที่ทำการออกหุ้น จะกำหนดจำนวนหุ้นและมูลค่าของหุ้นไว้ สามารถโอนเปลี่ยนมือได้
หุ้นทุนหรือหุ้นสามัญ (Common Stock) คือหน่วยของความเป็นเจ้าของ ในบริษัท สหกรณ์ หรือกิจการอื่นที่ระบุให้แบ่งหน่วยความเป็นเจ้าของเป็นหุ้นตามสัดส่วนจำนวน หุ้นที่มีถืออยู่ ผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิ์ออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นได้มากเท่ากับสัดส่วนของ หุ้นที่ถือ ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่กิจการออกทั้ง หมด จะมีสิทธิ์ตั้งฝ่ายจัดการของกิจการได้
หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stock) คือหุ้นที่มีความเป็นเจ้าของ ผสมกับความเป็นเจ้าหนี้ด้วย โดยที่ถ้าบริษัทนั้นๆต้องเลิกกิจการลง ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับส่วนแบ่งก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ


Transport Document (เอกสารการขนส่ง)
1. Bill of Lading: (ใบตราสารส่งสินค้า) เป็นเอกสารที่บริษัทผู้ทำการขนส่งสินค้า (Shipping Company) ออกให้แก่ผู้จัดส่ง (Shipper) ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าตนได้รับมอบสินค้าไว้เพื่อทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งตามที่กำหนด
2. Airway Bill (ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ) เป็นเอกสารการส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อจัดส่งสินค้าจากท่าอากาศยานของผู้ผลิตไปส่งมอบให้ท่าอากาศยานผู้บริโภค   เป็นเพียงใบรับสินค้าและสัญญาการขนส่งเท่านั้น
3. Railway Bill (ใบตราส่งสินค้าทางรถไฟ) เป็นเอกสารที่ออกโดยการรถไฟ ใช้เป็นหลักฐานว่าได้รับสินค้าจากผู้ส่งออกเพื่อขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางในต่างประเทศแล้ว
4. Roadway Bill (ใบตราส่งสินค้าทางถนน)
5. Certificate of Posting (ใบรับรองการโพสต์)
6.  CMR ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่าการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การ แข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ ความจงรักภักดีในที่สุด

7.  TIR


Commercial Document (เอกสารพาณิชย์)

1. invoice (ใบกำกับสินค้า) คือ เอกสารแสดงถึงลักษณะของสินค้า ปริมาณราคา เงื่อนไข การชำระเงิน วิธีการขนส่งสินค้าและลักษณะอื่นๆ ของสินค้าที่ขายสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

2. packing list (ใบรายการบรรจุหีบห่อ) เป็นเอกสารที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้ทราบถึงการบรรจุสินค้าลงไปในบรรจุภัณฑ์ ที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบสินค้าทั้งต้นทางและปลายทางสำหรับสินค้าปกติเจ้า หน้าที่ศุลกากรจะใช้วิธีการสุ่มตรวจตามอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยจะไม่ทำการตรวจสินค้าทั้งหมดด้วยการเปิดหีบห่อ ซึ่งอาจทำให้บรรจุภัณฑ์และสินค้าเกิดการเสียหายหรือสูญหายได้ ดังนั้น ใบรายการบรรจุหีบห่อควรรายละเอียดให้เพียงพอ

3. weight list (ใบแสดงรายการน้ำหนักสินค้า) เป็นใบแสดงรายละเอียดน้ำหนักของสินค้าแต่ละหน่วย (Unit Weight) ซึ่งแตกต่างจาก Certificate of Weight ซึ่งแสดงน้ำหนักของสินค้าทั้งจำนวน

4. certificate of origin (ใบรับรองต้นกำเนิดสินค้า)  เป็นใบรับรองต้นกำเนิดสินค้า ว่าสินค้านั้นๆ มีกำเนิดในประเทศใด ตามปกติแล้วจะนิยมให้สภาการค้า (Chamber of Commerce) ของประเทศผู้ส่งสินค้าเป็นผู้ออกให้ วัตถุประสงค์ในการใช้เอกสารนี้ ก็โดยเหตุที่บางประเทศเรียกเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าที่ผลิตในประเทศที่มีสนธิสัญญาในเรื่องภาษีต่อกันต่ำกว่าสินค้าจากประเทศอื่น หรือห้ามสินค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งเข้าประเทศของตน

5. health certificate (ใบสำคัญแสดงความสมบูรณ์ของสินค้า)  เป็นเอกสารที่แสดงถึงความสมบูรณ์ของสินค้า สินค้าบางชนิดจำเป็นต้องใช้โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร ซึ่งต้องการคำรับรองว่า มีความสมบูรณ์ปราศจากโรครบกวน

6. inspection certificate ( ใบรับรองการตรวจสอบ )  ผู้ซื้อบางรายต้องการใบรับรองการตรวจสอบ เพื่อแน่ใจว่าสินค้าที่สั่งซื้อนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผู้ส่งออกต้องจัดการ เรื่องเหล่นี้ให้ลูกค้าของตนเอง

7. insurance certificate (ใบรับรองการประกันภัย) การประกันภัยเป็นส่วนสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ คือสินค้าได้รับการคุ้มครองความเสียหายจากภัยที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้า ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง หลักฐานเอกสารที่สำคัญก็คือ สัญญาประกันภัย ที่เรียกว่า กรมธรรม์ เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันตกลงยินยอมประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันจะจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ผู้รับประกันตามอัตราที่ตกลงกัน

8. phytosanitary certificate (ใบรับรองการปลอดโรคและศัตรูของพืชทุกชนิด) เป็นเอกสารที่ออกโดยกรมวิชาการเกษตร เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์จากพืชที่ส่งออกนั้นปลอดจากโรคพืช และศัตรูพืช ซึ่งจะใช้กับสินค้าเกษตรกรรม เช่น ข้าวโพดเลียงสัตว์ เฟอร์นิเจอร์ สินค้าอบแห้งบางชนิดที่แมลงชอบไต่ตอม เป็นต้น
9. fumigation certificate (ใบรับรองรมควัน) สำหรับสินค้าทุกชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เป็นการทำลายเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการขนส่งสินค้า ดังนั้นกรรมวิธีการรมควันจึงเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุได้อย่างดี

10. certificate of analysis (ใบวิเคราะห์สินค้า)เป็นเอกสารแสดงการตรวจสอบสินค้าทางวิทยาศาสตร์ ให้ทราบถึงส่วนผสมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสินค้าและให้การรับรองเป็นเอกสาร ถ้าเป็นอาหารที่บริโภคได้ก็จะวิเคราะห์ออกมาว่าไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษตามหลักเกณฑ์สากล หรือมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด ถ้า
เป็นเคมีภัณฑ์ก็แยกออกมาให้ทราบถึงส่วนผสมที่มีอยู่ เพื่อสะดวกแก่การนำสินค้าดังกล่าว
เข้าประเทศ

11. sanitary certificate (ใบรับรองการตรวจสอบอาหารที่เป็นของสดหรือแช่แข็ง)ใบรับรองประเภทนี้จะออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์ที่ส่งออกไปปลอดโรคและสิ่งปนเปื้อนที่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดที่ประเทศผู้ซื้อกำหนดด้วย สำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจออกหนังสือรับรองประเภทนี้เป็นไปตามส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สินค้าประเภทสัตว์น้ำจะออกใบรับรองโดย กรมประมง เป็นต้น

12.  Entreport Certificates (ใบรับรอง Entreport)

13.  Shipping Line Certificates (ใบรับรองสายการจัดส่งสินค้า)

14.  Measurement Certificates (ใบรับรองการวัด)


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น